วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2550




สุนทรียศาสตร์




หมายถึง เป็นวิชาที่ว่าด้วยความงามจัดอยู่ในวิชาปรัชญาแขนงหนึ่งว่าด้วยคุณค่าความงาม และการตัดสินความงามซึ่งครอบคลุมถึงความงามในธรรมชาติ และความงามในผลงานของมนุษย์
ประโยชน์ของสุนทรีย์ศาสตร์มีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างไร
- มีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้มนุษย์เกิดความพึงพอใจในด้านบวก
1. ส่งเสริมให้เห็นคุณค่าของความงามทั้งในศิลปกรรมและธรรมชาติ
2. ส่งเสริมให้คิดและตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
3. ช่วยให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดี
4. ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงาม ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม

สุนทรีย์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพพยาบาลอย่างไร
ทำให้มีความเข้าใจความสมดุลของชีวิต.

ประเภทของนาฎศิลป์ไทย

5. มหรสพไทย
มหรสพไทยที่นอกเหนือไปจาก โขน ละคร ลิเก ยังมีมหรสพอื่นๆ ได้แก่ การละเล่นของหลวงหรือมหรสพหลวง กระบี่กระบอง หุ่นไทย หนังใหญ่ มหรสพไทยจะมีขึ้นเมื่อมีงานต่างๆ ส่วนมากจะเป็นงานฉลอง สมโภช และงานศพซึ่งจัดได้ทุกระดับ ในงานพระเมรุมาศใหญ่ๆ ก็เคยมีมหรสพให้ประชาชนมาดูกัน ถ้าเป็นงานของหลวงก็จะยิ่งใหญ่และมีการแสดงต่างๆ หลากหลายกว่างานของสามัญชน สิ่งเหล่านี้เป็นมรดกสมบัติอันมีค่าของสังคมอันควคแก่การอนุรักษ์อย่างยิ่ง
มหรสพหลวงมหรสพของหลวง มีมาแต่โบราณสมัยอยุธยา เป็นการเล่นในงานสมโภชของหลวง ซึ่งมีอยู่หลายอย่าง แต่ที่มีการฟ้อน การเต้น การรำ ด้วยนั้น มีอยู่ไม่กี่อย่าง เช่น ระเบง โมงครุ่ม กุลาตีไม้ แทงวิไสย รำโคม มหรสพในงานสมโภชของหลวงนี้ มีตำนานเรื่องราวสืบต่อมาจนปรากฏอยู่ในกฎมนเทียนบาลบ้าง พงศาวดารและวรรณคดีต่างๆ บ้าง แม้ในการเขียนภาพจิตรกรรมประดับผนังโบสถ์บางแห่ง ก็ยังได้เขียนภาพ การแสดงการเล่นต่างๆ ไว้ การเล่นอื่นๆ นอกเหนือจากข้างต้น ก็ยังมี หกคะเมน ไต่ลวด ลอดบ่วง นอนดาบ โยนมีด พุ่งหอก ยิงธนู รำแพน เป็นต้น ตัวอย่างการการละเล่นของหลวง ได้แก่ระเบง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงอธิบายว่า "...เป็นกษัตริย์ร้อยเอ็ดเจ็ดพระนคร จะไปช่วยโสกัต์ใครก็ไม่ทราบที่เขาไกรลาส บทมีว่าโอละพ่อ เทวดามาบอก โอละพ่อ ยกออกจากเมืองโอละพ่อ พร้อมกันทั้งปวง โอละพ่อ จะไปไกรลาสฯแล้วไปถูกพระกาลห้ามไม่ให้ไป แต่ฉันเข้าใจว่าเป็นพระขันธกุมาร เพราะมีรูปนกยูงซึ่งเป็นพาหนะอยู่ ทั้งพระขันธกุมารก็เกี่ยวข้องกับพระอิศวรซึ่งอยู่ ณ เขาไกรลาส ถ้าเป็นพระกาลรูปพาหนะจะต้องเป็นนกแสก เมื่อกษัตริย์ทั้งนั้นไม่ฟังห้าม จะยิงเอาพระกาล พระกาลก็สาปให้สลบ เมื่อพอใจแล้วก็ถอนสาปให้ฟื้น พวกกษัตริย์ก็กลับบ้านเมืองเท่านั้น ไปไม่ถึงไกรลาส..." ระเบง น่าจะจัดแสดงในงานสมโภชพระราชพิธีโสกันต์ เพราะมีการสร้างเขาพระสุเมรุหรือเขาไกรลาสจำลองด้วย โดยพระมหากษัตริย์ทรงแต่งพระองค์อย่างเทวดา สมมุติเป็นองค์พระอิศวร ทรงจูงพระกรพระราชโอรสหรือพระราชธิดาเสด็จขึ้นไกรลาส การเล่นระเบงมีไม่บ่อยนัก สำหรับการแต่งกายของผู้แสดงระเบงนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ชาววังฝ่ายใน ซึ่งเป็นสตรีเล่นระเบงเลียนแบบผู้ชาย โดยนุ่งผ้าลายทับสนับเพลา สวมเสื้อผ้ามัสหรู่แขนยาว มีผ้าเข้มขาบไหมคาดเอว ศีรษะสวมเทริดลงรักปิดทอง มือขวาถือลูศร มือซ้ายถือคันธนู มีการตีฆ้องสามใบเถา ซึ่งเรียกว่า ฆ้องระเบง เป็นจังหวะสำหรับการร้องและการรับพร้อมกับยกขาเต้นก้าวเดินตามไปด้วย มือก็ตีลูกศรกับคันธนู การเล่นระเบงนี้ กรมศิลปากรเคยจัดแสดงที่โรงละคร เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ถึง ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐ โดยจัดระเบียบเสียใหม่ เป็น ๕ ตอน โดยเชื่อว่า เทวดาที่มาพบนั้น เป็นพระขันธกุมารมากกว่าจะเป็นพระกาล ที่จัดไว้ ๕ ตอน และปรับปรุงเนื้อร้องของเดิมที่พระยาเทวาธิราชถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ไว้ เพื่อให้สมบูรณ์ขึ้น กุลาตีไม้ เป็นการเล่นที่มีลักษณะคล้ายกับการเล่นพื้นเมืองของอินเดียใต้ ที่เรียกว่า"ทัณฑรส" มีคำอธิบายของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในสาสน์สมเด็จ ว่า"กุลาตีไม้เป็นของแขกอินเดียแน่ ชื่อกุลาก็บอกอยู่ในตัวแล้ว เกล้ากระหม่อมเคยเห็นรูปตีพิมพ์ของฝรั่ง ซึ่งเขาลอกรูปเขียนในอินเดียมา มีรูปเทวดายืนเป็นวง สองมือถือไม้ประกับ ล้อมอยู่รอบกลอง พอเห็นก็เข้าใจทันทีว่า นี่คือรูปเล่นกุลาตีไม้..." การแต่งกายของผู้แสดงกุลาตีไม้ คือ แต่งตัวนุ่งผ้าโจงกระเบนหยักรั้งทับสนับเพลา สวมเสื้อแขนกระบอก คาดประคดรัดเอวทับเสื้อ ศีรษะสวมเทริด ถือคทารูปคล้ายกระบองทั้งสองมือ ยืนล้อมเป็นวงหันหน้าเข้าหากัน วงหนึ่ง ๖ หรือ ๘ จะมีกี่วงก็ได้ ไม่มีดนตรีอื่นประกอบนอกจากการร้อง ซึ่งมีบทร้องมีลักษณะเป็นโคลง หรือโคลงกระทู้ และอาจเขียนเป็นลักษณะกาพย์ได้ด้วย เริ่มแสดงโดยผู้แสดงถวายบังคมตามสัญญาณจากฆ้องโหม่ง ทุกคนร้องเองตามบทร้อง แล้วใช้ไม้ที่ถือตีเข้าจังหวะ มีท่าที่เต้นพร้อมกับการรำอยู่ ๖ ท่า คือ๑. นั่งคุกเข่าล้อมเป็นวงหันหน้าเข้าหากัน ตบมือเข้าจังหวะและลอยหน้าเข้าหากันเป็นคู่ๆ ซ้ายขวาสลับกัน จบบทหนึ่งก็เอาไม้ตีเป็นจังหวะ๒. หันตัวไปกึ่งขวาแล้วย่อเข่าก้าวเดินขยับไปเป็นวงกลม ต่างคนต่างเอาไม้เคาะเป็นจังหวะ เดินเข้าจังหวะฆ้องโหม่งและไม้ที่ตี แล้วเดินเวียนกลับมาที่เก่า๓. เดินย่อเข่าเวียนขวาแล้วกลับมาทางซ้าย ตีไม้โดยการพลิกขวาตีซ้าย ซ้ายตีขวา สลับกัน๔. หันไปตีโต้กันเป็นคู่ๆ โดยหันไปทางคู่ขวาแล้วหันมาทางคู่ซ้ายสลับกัน๕. หันหน้าเข้าหากันเป็นคู่ๆ โดยยืนเป็นวงแล้วยกไม้ตีโต้กันขวาต่อขวา ซ้ายต่อซ้าย และเดินหน้าคนหนึ่ง ถอยหลังคนหนึ่งเป็นคู่ๆ เคลื่อนไปเป็นวงกลม๖. เช่นเดียวกับท่าที่ ๕ แต่ตีไม้โต้กันโดยขวาตีขวาสูง ซ้ายตีซ้ายสูง แล้วเปลี่ยนมาเป็นขวาตีขวาต่ำ ซ้ายตีซ้ายต่ำสลับกันไป พร้อมกับเดินเป็นวงกลม จากนั้นก็นั่งลงถวายบังคม

กระบี่กระบอง


กระบี่กระบอง จัดเป็นการเล่นแบบกีฬาประเภทหนึ่ง ที่มักจัดให้แสดงเป็นการมหรสพในงานต่างๆ และยังเป็นการเล่นของไทยโดยแท้จริง เพราะไม่เคยปรากฏมีในประเทศใดในโลก เป็นกีฬามหรสพที่นิยมกันมาตังแต่โบราณ เป็นการฝึกหัดใช้อาวุธในยามสงบไปในตัว นับว่าเป็นการแสดงที่ทำให้ตื่นเต้น เร้าใจ มักแสดงในบริเวณที่กว้างๆ เช่น สนามหรือลานใหญ่ๆ ในวัดเครื่องกระบี่กระบอง มีอยู่ ๒ ชนิด คือ เครื่องไม้รำ กับเครื่องไม้ตี ทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นอาวุธจำลอง ส่วนมากทำมาจากหวาย มีความเหนียวและเบามือ เครื่องไม้รำนั้นลงรักปิดทองประดับกระจกอย่างสวยงาม ส่วนเครื่องไม้ตีไม่ได้ตกแต่งอะไร กระบี่ เครื่องไม้รำทำด้วยหวายหรือเอ็นสัตว์ถักเป็นปลอก สวมแกนโลหะที่ยาวตลอดลงไปถึงด้ามด้วย ตอนปลายเป็นหวายหรือเอ็นถึกคล้ายหางกระเบน มักจะลงรักให้แข็ง บางทีทาสีแดงตลอด ด้ามมีโกร่งกันมือ ส่วนเครื่องไม้ตีนั้นทำอย่างเดียวกันแต่ไม่ตกแต่งอะไร กระบองหรือพลอง เครื่องไม้รำทำด้วยหวายหรือไม้จริงลงรักปิดทอง เขียนลายรดน้ำหรือทาสีแดงตลอด ไม่มีโลหะประกอบอยู่ด้วยเลย บางทีก็ประดับกระจกอย่างกระบองของเจ้าเงาะในละครรำ เครื่องไม้ตีทำด้วยไม้รากไทรหรือหวายขนาดใหญ่ ลงรักดำหรือทาสีแดงตลอด ตอนปลายทั้งสองข้างใช้เชือกขนาดเล็กพันไว้ ดาบ เช่นเดียวกับกระบี่ แต่ไม่มีโกร่งกันมือ เครื่องไม้รำทำสวยงามมากดูคล้ายมีฝักอยู่ด้วย ส่วนเครื่องไม้ตีทำด้วยหวายเพื่อให้สามารถตีได้ไม่หัก การใช้ดาบนั้น มีทั้งดาบเดี่ยว ดาบคู่ ดาบกับดั้ง ดาบกับเขน ดาบกับโล่ แล้วแต่จะกำหนด ง้าว เครื่องไม้รำประดิษฐ์ตกแต่งสวยงามมาก ทำด้วยไม้จริง มีลักษณะใกล้เคียงกับง้าวของจริงมาก ส่วนเครื่องไม้ตีทำด้วยหวาย ไม่มีการตกแต่งอย่างใดวิธีแสดง การเล่นกระบี่กระบอง มีอยู่ ๒ ประเภท คือ ประเภทแสดง กับประเภทแข่งขัน ประเภทแสดง - เป็นการเล่นของนักกระบี่กระบองในคณะเดียวกัน จึงเป็นไปอย่างรู้เชิงกันหรือนัดหมายกันไว้อย่างดี ตามภาษากระบี่กระบอง เรียกว่า "รู้ไม้" กันอยู่แล้ว ประเภทแข่งขัน - ต่างคณะจะลงประอาวุธกัน มีรสชาติขึ้นมาก เพราะสุดแต่ว่า ใครที่มาจากคณะใดจะมีความสามารถมากกว่ากัน การเล่นกระบี่กระบองที่ครบกระบวนการ จะต้องมีวงปี่ชวาและกลองแขก เสียงปี่เสียงกลองทำให้เกิดความคึกคักขึ้นทั้งผู้แสดงและผู้ดู ในวงปี่ชวา ๑ เลา กลองแขก ๒ ลูก ฉิ่ง ๑ คู่ สถานที่แสดง ได้แก่ ลานกว้างๆ พอที่จะให้ผู้แสดงได้ต่อสู้กันได้ไม่คับแคบนัก ก่อนจะลงมือแสดงจะต้องไหว้ครูกันก่อน จากนั้นก็ถึงการต่อสู้ ปี่ชวาจะขึ้นเพลงเร่งเร้าฟังคึกคัก แตกต่างออกไปจากเพลงไหว้ครู โดยคู่ต่อสู้จะต้องรำอาวุธก่อน ซึ่งเป็นการรำที่ผสมกันระหว่างแบบนาฏศิลป์ กับแบบเฉพาะของแต่ละคณะหรือแต่ละสำนัก เป็นการอวดความสวยงามกัน ตอนรำอาวุธนี้ จะใช้ไม้รำซึ่งขัดทำอย่างประณีตงดงามมาก ท่ารำที่ถือว่าเป็นแบบอย่างของกระบี่กระบอง มี "ขึ้นพรหม" เป็นการรำโดยหันไปสี่ทิศ แล้วก็ถึงท่า "คุม" ตามแบบฉบับคือ รำลองเชิงกันโดยต่างฝ่ายต่างรุกล้ำเข้าไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง จากนั้นก็เป็นท่า "เดินแปลง" โดยการสังเกตดูเชิงกันและกัน แล้วจำไว้ว่าใครมีจุดอ่อนที่ใดบ้าง แล้วจึงคุกเข่า "ถวายบังคม" คือ กราบ ๓ ครั้ง จากนั้น จึงเปลี่ยนเครื่องไม้รำมาเป็นเครื่องไม้ตี นักกระบี่กระบองจะต้องสวมมงคลที่ทำด้วยด้ายดิบพันเป็นเกลียว มีขนาดใหญ่เท่าเชือกมนิลา ใช้ผ้าเย็บหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ปล่อยปลายทั้งสองยื่นออก ส่วนเครื่องแต่งกายนั้นขึ้นอยู่กับความนิยม สมัยโบราณแต่งกายอย่างทหาร หรือนุ่งโจงกระเบนแบบหยักรั้ง คาดผ้าประเจียด ตะกรุด หรือนุ่งกางเกงขาสั้น การแสดงก็จะเริ่มจากการจับอาวุธต่อสู้กันเป็นคู่ๆ เช่น กระบี่กับกระบี่ พลองกับพลอง ง้าวกับง้าว พลองกับไม้สั้น จากนั้นก็สุดแต่จะยักเยื้องใช้อาวุธต่างๆ ในที่สุดก็เป็นการตะลุมบอนหรือหลายคู่ หรือการต่อสู้แบบ "สามบาน" คือ คนหนึ่งต่อสู้กับอีก ๒ คน เพลงที่ใช้นั้น เพื่อความเหมาะสมกับการร่ายรำอาวุธแต่ละอย่าง ก็มักจัดเพลงขึ้นตามความเหมาะสม เช่น กระบี่ ใช้เพลงกระบี่ลีลา ดาบสองมือ ใช้เพลงจำปาเทศหรือขอมทรงเครื่อง ง้าวใช้เพลงขึ้นม้า พลองใช้เพลงลงสรงหรือขึ้นพลับพลา การต่อสู้สามบาน ใช้เพลงกราวนอกหรือเพลงฝรั่งรำเท้า



1. ถ้าคุณค่าหมายถึงคุณสมบัติ เช่น ของเหลว ร่วน แข็ง ก็ย่อมเป็นลักษณะของคุณค่าด้วย?


ตอบ หากเรากำหนดให้คุณค่าหมายถึง คุณสมบัติดังเช่นตัวอย่าง นั่นก็หมายความว่า คุณสมบัติก็เป็นลักษณะหรือเป็นส่วนประกอบของคุณค่าด้วยเช่นกัน แต่ความเหลว ความร่วน ความแข็ง เป็นสิ่งที่มนุษย์รับรู้ได้จากสิ่งเร้าหรือการรับสัมผัส ตัดสินว่ามันเป็นสิ่งที่เห็นจริง ๆ }

2. ถ้าคุณค่าในตัวของมันเองเป็นคนละเรื่องของคุณสมบัติ คุณค่าควรจะอยู่ที่ใด ?

ตอบ อยู่ที่อารมณ์และความรู้สึกของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าใครจะรู้สึกว่าอย่างไรกับสิ่งเร้า แล้วตัดสินใจว่า สิ่งนั้นมีคุณค่าในตัวมันเองหรือไม่

3. ถ้าคุณค่าของตัวมันเอง หมายถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อสิ่งอื่น

ตอบ ถ้าคุณค่าหมายถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อสิ่งอื่น นั้นคือ คุณค่าไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุเพียงอย่างเดียวแต่คุณค่ามีความสัมพันธ์กับจิตใจ คือ ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นลอย ๆ แต่เมื่อสิ่งนั้นเอื้อประโยชน์กับสิ่งอื่น ๆ ก็แสดงว่า สิ่งนั้นมีคุณค่ามีอิทธิพลต่อสิ่งอื่น ๆ หรือมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะด้านบวกและด้านลบก็ตามแสดงว่าคุณค่ามีความสัมพันธภาพกับจิตใจ หรือเกิดจากจิตใจมนุษย์กับวัตถุด้วยเช่นใจ

4. ถ้าคุณค่าในตัวของมันเองหมายถึงการดำรงอยู่โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด

ตอบ ถ้าหากเงื่อนไขบกว่าคุณค่าในตัวของมันเองหมายถึง การดำรงอยู่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใดหรือไม่มีผลต่อสิ่งใด ทั้งทางตรงและทางอ้อม คุณค่าในตัวของมันเองก็มีได้เพราะคุณค่าถูกกำหนดจากมนุษย์ขึ้นมาเท่านั้นเอง จะนำมาใช้หรือไม่นำมาใช้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ความมีคุณค่าก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม แต่คำกล่าวที่ว่าสรรพสิ่งใดในโลกจะอยู่ไม่ได้เลยถ้าไม่มีสัมพันธ์กับสิ่งใดนั้นเป็นการแสดงว่า จิตใจเรามีปฏิกริยากับสถานการณ์หรือวัถตุขณะนั้นแล้วเรานำความรู้สึกหรือการได้รับรู้อารมณ์มาปรุงแต่งทำให้เกิดเป็นสัมพันธภาพระหว่างกัน ก็เลยมองว่า ทุกสิ่งในโลกมีความสัมพันธ์ต่อกัน

5. การพิจารณาปัญหาคุณค่าแบบโดด ๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด

ตอบ การพิจารณาปัญหาอื่น ๆ กับปัญหาคุณค่าเป็นเพียงการตัดสินในเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกนึกคิด ถ้าคิดว่าคุณค่ามีความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ๆ กับความหมายว่าปัญหาของมนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อมมีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ แต่จิตนิยมบอกว่าขึ้นอยู่กับจิตใจและความรู้สึกของคนที่ตัดสินซึ่งไม่เหมือนกันทุกคนบางคนอาจจะคิดว่าเป็นปัญหาของบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่บางคนอาจจะคิดว่าปัญหาเกิดขึ้นเพราะเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมหรือบริบทของสิ่งนั้น

สรุป

จากคำถามทั้งหมดไม่สามารถหาคำตอบได้ตายตัวแน่นอนขึ้นอยู่กับว่าเรากำหนดให้เงื่อนไขนั้นเป็นอย่างไรและมุมมองของแต่ละคนที่แตกต่างกันก็ทำให้ความคิดเห็นของแต่ละคนก็แตกต่างกันด้วย การตัดสินคุณค่าในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงเป็นเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกของแต่ละคนวัตถุบางอย่างอาจมีคุณค่ามากสำหรับคนหนึ่งแต่อาจจะหาคุณค่าไม่ได้เลยสำหรับอีกคนหนึ่งก็ได้ คุณค่าของความงามจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตใจมนุษย์และความสัมพันธภาพกับวัตถุรับสัมผัส ในขณะนั้น

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550